เที่ยวปักกิ่งฉบับสายมู วัดลามะ (yonghe temple)

ข้อมูลเบื้องต้น

ชื่อสถานที่ Yonghe Temple หรือเรียกภาษาไทยว่า วัดลามะ หรือ วัดหยงเหอกง

ชื่อภาษาจีน 雍和宮 (Yōnghé Gōng)

雍 (yōng) = สงบ / สมานฉันท์ ส่วน 和 (hé) = สันติ / กลมเกลียว และ 宫 (gōng) = วัง / พระราชวัง หรือวัดใหญ่ในแบบจักรพรรดิ รวมกันจึงหมายถึง “วังแห่งความสงบและสันติ”

เป็นวัดใหญ่ของนิกายลามะ (พุทธธิเบต) ในจีน เป็นที่นิยมชมชอบของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศเป็นอย่างมาก แถมซอยข้างวัดยังมีที่ให้เดินเล่นนั่งชิลมากกมาย เหมาะแก่การแวะชม

สถานที่ อยู่ใน Dongcheng District ,Beijing ,China

สามารถเดินทางโดยรถไฟใต้ดินสาย 2 หรือสาย 5 ลงที่สถานี Yonghegong (雍和宫) ซึ่งเป็นจุดตัดของทั้งสองสาย จากนั้นเดินประมาณ 5 นาทีถึงวัด

ค่าเข้าวัด (อับเดต เมษายน 2568) บุคคลทั่วไป 25 หยวน นักเรียนในประเทศจีน 12 หยวน

เวลาเปิดทำการ ทุกวัน ตั้งแต่ 9:00-17:00 น.

ประวัติวัดหยงเหอกง (雍和宫)

วัดหยงเหอกง (Yōnghé Gōng) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “วัดลามะ” แห่งปักกิ่ง เป็นหนึ่งในวัดพุทธทิเบตที่สำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศจีน วัดแห่งนี้มีประวัติศาสตร์ยาวนาน และมีบทบาททั้งในด้านศาสนาและการเมืองของจีน

จุดเริ่มต้นในราชวงศ์ชิง

การก่อสร้างวัดหยงเหอกงเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1694 (พ.ศ. 2237) ตรงกับช่วงต้นของ ราชวงศ์ชิง
หากเทียบกับประวัติศาสตร์ไทย วัดแห่งนี้เริ่มสร้างในช่วง ปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และต้นรัชสมัยของ สมเด็จพระเพทราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา

เดิมที สถานที่แห่งนี้เป็นพระตำหนักของ เจ้าชาย Yinzhen พระราชโอรสองค์ที่ 4 ของจักรพรรดิ คังซี (Kangxi)
ต่อมาในปี ค.ศ. 1722 เมื่อเจ้าชาย Yinzhen เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิ หย่งเจิ้ง (Yongzheng) ตำหนักแห่งนี้จึงได้รับการยกสถานะเป็น “พระตำหนักหยงเหอ” (雍和宫)

เปลี่ยนผ่านสู่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

หลังจากจักรพรรดิหย่งเจิ้งสวรรคตในปี ค.ศ. 1735 พระศพของพระองค์ถูกเก็บรักษาไว้ ณ สถานที่แห่งนี้
จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1737 จักรพรรดิ เฉียนหลง (Qianlong) ทรงมีพระราชโองการให้เปลี่ยนพระตำหนักแห่งนี้ให้เป็นวัดลามะ เพื่อใช้เป็นสถานที่พำนักของพระลามะ และเพื่อเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เฉพาะจักรพรรดิ

บทบาททางการเมือง

วัดหยงเหอกงยังมีบทบาทในเหตุการณ์ทางการเมืองของจีนด้วย
ในปี ค.ศ. 1929 ทหารกลุ่มหนึ่งที่เคยสังกัดกองกำลังของขุนศึก Zhang Zongchang ได้ก่อการกบฏในกรุงปักกิ่ง และยึดวัดแห่งนี้ไว้เป็นที่มั่น ก่อนจะถูกปราบโดยกองทัพแห่งชาติจีนในเวลาต่อมา

เปิดอีกครั้งสู่สาธารณชน

หลังผ่านช่วงเวลาของความไม่สงบทางการเมือง ในปี ค.ศ. 1949 วัดแห่งนี้ได้ถูกรวมเข้ากับการดูแลของรัฐบาลใหม่
และในปี 1981 วัดหยงเหอกงได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าสักการะและเยี่ยมชมอย่างเป็นทางการอีกครั้งเคยพัวพันเกี่ยวกับการเมือง ในสมัย 1929 ที่มีทหารกลุ่มหนึ่งก่อการกบฎในปักกิ่ง แล้วยึดวัดแห่งนี้เอาไว้ ก่อนที่กบฎดังกล่าวจะถูกกองทัพแห่งชาติจีนจัดการอีกที ในปี 1949 วัดยงเหอกงเปิดให้สาธารณชนอีกครั้งในปี 1981

สถาปัตยกรรมภายในวัด

  • โครงสร้างของวัดสร้างตามแนวตรงจากทางเข้าไปยังวิหารหลัก เรียกว่า แนวแกนกลาง (中轴线) โดยมี 5 โถงหลัก เรียงกันเป็นแนวลึกเข้าไป แต่ละโถงจะมีบทบาทต่างกัน เช่น สักการะเทพ การเรียนรู้คำสอน และการปฏิบัติธรรม
  • ประตูและซุ้มทางเข้า สร้างแบบจีนโบราณ สีแดงสด มีสิงโตหินเฝ้าสองฝั่ง มีแผ่นป้ายอักษรจีนบนพื้นน้ำเงินเขียนว่า “雍和宫” นอกจากนี้ลวดลายหลังคายังเคลือบสีเหลืองทอง อันเป็นสัญลักษณ์ของราชวงศ์
  • วิหารหลัก จะมี พระพุทธรูป ไม้จันทน์ แกะสลักสูงกว่า 18 เมตร ถือเป็นสมบัติระดับชาติ บนเพดานประดับลดลายมังกร 9 ตัว ผสานกับธงและลวดลายธิเบต
  • บริเวณลานกลาง จะมีธูปเทียน เป็นจุดให้ผู้ศรัทธามาเคารพขอพร

ว่ากันด้วยเรื่องของสายมู

นอกจากการมาถึงวัดเพื่อทำการสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชื่นชมกับสถาปัตยกรรมของวัดลามะแล้ว สิ่งที่ไม่ควรพลาดคือการซื้อ กำไลค่ะ ซึ่งเป็นที่นิยมแก่วัยรุ่นชาวจีนเป็นอย่างมาก (ตอนไปซื้อถึงกับต้องต่อแถวรอเข้าร้านขายเลยค่ะ คนแน่นมากจริงๆ)

ตัวอย่างกำไลบูชา (ภาพจาก ผู้จัดการออนไลน์)

ลักษณะของกำไลวัดลามะ

  1. ทำจากขี้เถ้าธูป (香灰手串) ที่ใช้บูชาพระพุทธรูปในวัดนำมาผสมสร้างขึ้นรูปเป็นเม็ดลูกปัด ร้อยเป็นวง บางเส้นจะมีเม็ดประธาน (佛头) ขนาดใหญ่กว่าลูกอื่น อาจจะมีการสลัก สัญลักษณ์แบบธิเบต พุทธคาถา หรืออักขระจีน เกี่ยวกับ โชคลาภ/สุขภาพ/ความรัก บางรุ่นจะผสมไม้จันทน์ เม็ดหยก หินทิเบต หรือเชือกแดง เพื่อเพิ่มความหมายเฉพาะด้านอีกด้วย
  2. บริเวณที่ขายกำไล จะมีคำอธิบายภาษาจีน ให้เพราะแต่ละกำไล จะมีคำอวยพรแตกต่างกันไป เช่น สมปราถนา,มั่งมี,สุขภาพแข็งแรง ฯลฯ แนะนำให้ ใช้ google lens ถ่ายรูปแปลเพื่อสะดวกต่อการเช่าบูชา
  3. ราคากำไลนั้น เบาๆ ก็ประมาณ 280 -320 หยวน ถ้าลวดลายสวย เส้นใหญ่ เม็ดลูกปัดใหญ่จะแพงขึ้นตามความศรัทธา แนะนำซื้อเอง เพราะแต่ละกำไลจะมีสีสัน และพรแตกต่างกันไป มาเลือกเองน่าจะถูกใจกว่า 🙂

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *